บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

mookky

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

แหล่งท่องเที่ยว ในประเทศ ภูฎาน

ภูมิศาสตร์

   ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบและทุ่งหญ้าระหว่างหุบเขาพื้นที่ต่ำสุดสูงกว่าระดับน้ำทะเล 970 ฟุต พื้นที่สูงสุดอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 17,553 ฟุต 


ภูมิอากาศ 

     สภาพภูมิอากาศแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคและระดับความสูง ในพื้นที่  ตอนบนด้านติดกับเทือกเขาหิมาลัยอากาศจะหนาวเย็นตลอดปี ตอนกลางของประเทศอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว(ตุลาคม-มีนาคม) และค่อนข้าง
ร้อนในฤดูร้อน(เมษายน-กันยายน) ส่วนทางตอนล่างของประเทศซึ่งเป็นที่ ราบอากาศจะร้อนชื้น


สกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยน 

  งุลตรัม (Ngultrum) 48.336 NU: USD 1


เล่าสู่กันฟัง

        ภูฏาน ประเทศเล็กๆ เพื่อนบ้านของทิเบตแห่งนี้ เพิ่งเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 ปัจจุบันเก็บภาษีท่องเที่ยวถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อวัน และใช้โควตาจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวต่อปี ด้วยเหตุผลที่ว่าการไหลบ่าของนักท่องเที่ยวจะทำลายสภาพแวดล้อมของประเทศ ตามเกณฑ์สากลที่ใช้วัดระดับ “ความเจริญ” ภูฏานเป็นหนึ่งใน 40 ประเทศยากจนที่สุดในโลก ทั้งประเทศมีทางหลวงเพียงหนึ่งเส้น ว่ากันว่ารถที่วิ่งในภูฏานนั้นต้องหักเลี้ยวทุกๆ 6 วินาที ในบรรดาประเทศแถบเทือกเขาหิมาลัยทั้งหมด ภูฏานเป็นประเทศเดียวที่ยังรักษาอธิปไตยของตัวเองเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นและเด็ดเดี่ยว ดังนั้น ใครที่อยากสัมผัสวัฒนธรรม และความเป็นอยู่แถบหิมาลัยของแท้ดั้งเดิม ภูฏานเป็นจุดหมายเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น
       นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนภูฏานเพื่อแสวงหาธรรมชาติบริสุทธิ์หรือพิชิตยอดหิมาลัย ย่อมต้องสังเกตเห็นอิทธิพลของศาสนาและวัฒนธรรม ที่แยกไม่ออกจากวิถีชีวิตชาวภูฏาน เพราะธรรมชาตินั้นอยู่ท่ามกลาง และแวดล้อมหมู่บ้าน วัดวาอาราม ธงภาวนา และกงล้อภาวนาจำนวนนับไม่ถ้วน เช่นกัน นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมอันแปลกตาและแปร่งหูที่มีพุทธวัชรยานเป็นองค์ประกอบสำคัญ ย่อมต้องสังเกตเห็นธรรมชาติอันน่าตื่นตาตื่นใจ และวิถีชีวิตของชาวบ้าน ระหว่างทางไปวัดต่างๆ ซึ่งบางวัดอยู่บนยอดเขาที่ต้องใช้เวลาและความอุตสาหะมากกว่าเส้นทางปีนเขาบางเส้น คนภูฏานที่เห็นส่วนใหญ่มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่เคยเจอเด็กภูฏานคนไหนที่โบกมือให้แล้วไม่โบกตอบ พร้อมแถมรอยยิ้มไล่หลังรถให้เราถ่ายรูปมือเป็นระวิงทุกครั้ง
          ภูฏานไม่ได้เป็นสมบัติของชาวภูฏานเท่านั้น แต่เป็นสมบัติของคนทั้งโลก เพราะภูฏานอาจเป็นอารยธรรมแห่งสุดท้าย ที่ทำให้คำขวัญของขบวนการต่อต้านความไม่เป็นธรรมของวิธีการที่ประเทศมหาอำนาจใช้รณรงค์โลกาภิวัตน์ ดูไม่ไกลเกินเอื้อม


 แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ




วัดคิชู (Kyichu  Lhakhang) 
       วัดคิชูเป็นหนึ่งในวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภูฏาน มีตำนานเล่าว่ามีการสร้างวัดขึ้นพร้อมกัน 108 วัด เพื่อสะกดจุดนางมารร้ายเอาไว้ ซึ่งวัดคิชูตั้งอยู่บริเวณข้อเท้าซ้ายของนางมาร



Memorial Chorten 

         Memorial Chorten หรือมหาสถูปที่พระเจ้า จิกมี ดอร์จี วังชุก ซึ่งเป็นพระ ชนก ของกษัตริย์องค์ปัจจุบัน (พระเจ้า จิกมี ซิงเย วังชุก) พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ที่ปกครองพูตาน ในช่วงปี ค.ศ. 1952 - 1972 และทรงได้รับพระฉายาว่า “พระบิดา แห่งพูตานยุคใหม่” (King of Merdernization)
มีประสงค์จะสร้างเพื่อเป็นการถวายเป็น พุทธบูชา แทนสัญลักษณ์ กาย วาจา และใจ ของพุทธศาสนา แต่ท่านได้เสียชีวิตลง เสียก่อน สมเด็จพระราชินีจึงได้ดำเนินการสร้างต่อจนแล้วเสร็จ





ดรุกเยลซอง (Drukgyel Dzong) 
           ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดที่ควบคุมเส้นทางสู่ทิเบต ซองนี้สร้างขึ้นในปี 1644 เพื่อเป็นที่ระลึกในชัยชนะเหนือทิเบต     ท่านจะได้ชมเส้นทางลับที่จะหลบหนีออกจากซอง เมื่อชาวทิเบตบุกเข้ามาล้อมซองไว้ และเส้นทางที่ทหารลงไปเอาน้ำมาใช้ในซอง  นอกจากนั้นจะได้ชมทิวทัศน์ที่สวยงามของเทือกเขาที่เป็นช่องทางผ่านเข้าไปสู่ทิเบตอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น